SMIS 8 หลัก | 18010132 |
PERCODE 6 หลัก | 90091 |
กระทรวง 10 หลัก | 1018090091 |
ชื่อ (ไทย) | วัดโบสถ์ราษฎร์บำรุง |
ชื่อ (อังกฤษ) | Watborthratbumrung |
หมู่ที่ | 2 |
ถนน | - |
หมู่บ้าน | |
ตำบล | โพงาม |
อำเภอ | สรรคบุรี |
จังหวัด | ชัยนาท |
รหัสไปรษณีย์ | 17140 |
หมายเลขโทรศัพท์ | 0966636543 |
อีเมล์แอดเดรส | Meeklueab.wasana@gmail.com |
เว็บไซต์ | https://data.bopp-obec.info/web/home.php?School_ID=1018090091 |
แผนที่ | https://goo.gl/maps/8D1Xa7rqpnhnPm2o9 |
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตอบรับเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ความว่า “เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน และเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทั้งปวง”กอปรกับพระราชปณิธานด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร คือ การสร้างคนดี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงมีพระราโชบายเพื่อสืบสานพระราชปณิธานแห่งองค์พระบรมชนกนาถ ในการสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง โดยทรงมุ่งให้การศึกษาต้องสร้างพื้นฐานแก่นักเรียน 4 ด้าน ประกอบด้วย (1) การมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง (2) การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม (3) การมีงานทำ- มีอาชีพ และ (4) การเป็นพลเมืองดี ดังนั้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ กระทรวงศึกษาธิการจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษามาเป็นหลักชัยในการสร้างนักเรียนเป็นคนดีและพัฒนาให้เป็นคนเก่งสู่การปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาทอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยความสำคัญดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงต้องสร้างพื้นฐาน แก่นักเรียน 4 ด้าน ประกอบด้วย (1) การมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง (2) การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม (3) การมีงานทำ-มีอาชีพ และ (4) การเป็นพลเมืองดี ตลอดจนการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันโดยกำหนดเป็นนโยบายให้มี การดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน ให้นักเรียน อย่างต่อเนื่อง โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกลไกลในการดำเนินการพัฒนาสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จึงได้จัดทำโครงการน้อมนำศาสตร์พระราชาสานต่อพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs
ความเป็นมา
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เป็นโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนีเมื่อปีพ.ศ.2552 คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาจากการประเมินผลนานาของโครงการ PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายที่ตรวจสอบได้และวิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ดำเนินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทยมาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบันได้ขยายโครงการเพื่อให้ครอบคลุมทุกโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
ได้จัดอบรมและรับสมัครโรงเรียนเพื่อเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ประเทศไทย ระดับปฐมวัยตั้งแต่รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จนถึงรุ่นที่ 9
ครบทุกโรงเรียน
ตามที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด ด้วย“ชัยนาทโมเดล – CHAINAT Model” ประจำปี พ.ศ. 2565 สู่เป้าหมาย คือ เด็กชัยนาทฉลาด ผุดผาดด้วยคุณธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา พัฒนาคุณภาพชีวิต นั้น บัดนี้ การดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วย “ชัยนาทโมเดล – CHAINAT Model” ของโรงเรียนในสังกัด ประจำปี พ.ศ. 2565 ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาทจึงขอประกาศผลการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 ของโรงเรียนในสังกัด ด้วย “ชัยนาทโมเดล – CHAINAT Model” ดังนี้
1. นักเรียนคุณภาพ (Quality Student) โรงเรียนที่มีผลการประเมินนักเรียนคุณภาพ รายองค์ประกอบมีระดับคุณภาพดีขึ้นไปทุกองค์ประกอบ ได้รับเกียรติบัตร นักเรียนคุณภาพ จำนวน 151 โรงเรียน
2. ครูคุณภาพ (Quality Teacher) ครู ที่มีผลการประเมินครูคุณภาพ รายองค์ประกอบระดับคุณภาพดีขึ้นไป ทุกองค์ประกอบ และมีผลการประเมินนักเรียนคุณภาพในระดับคุณภาพ ดีขึ้นไป โดยมีครูที่ได้รับเกียรติบัตร จำนวน 1,421 คน
3. ผู้บริหารโรงเรียนคุณภาพ (Quality Administrator) ผู้บริหารโรงเรียน ที่มีผลการประเมินผู้บริหารโรงเรียนคุณภาพ รายองค์ประกอบ มีระดับคุณภาพดีขึ้นไป และมีผลการประเมินนักเรียนคุณภาพ ครูคุณภาพ ในระดับดีขึ้นไป โดยมีผู้บริหารโรงเรียนได้รับรางวัลเกียรติบัตร จำนวน 103 คน
4. โรงเรียนคุณภาพ (Quality School) โรงเรียน ที่มีผลการประเมินโรงเรียนคุณภาพ รายองค์ประกอบมีระดับคุณภาพดีขึ้นไปทุกองค์ประกอบและมีผลการประเมินนักเรียนคุณภาพ ครูคุณภาพและผู้บริหารโรงเรียนคุณภาพ ในระดับคุณภาพดีขึ้นไป และได้รับเกียรติบัตร จำนวน 158 โรงเรียน และเป็นโรงเรียนคุณภาพ ที่มีผลการดำเนินงาน เป็นแบบอย่างที่ดีได้ (Best of Quality School)
ตามที่
สพฐ. ได้มอบหมายใหสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
(1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ) ซึ่งเนนการพัฒนาโรงเรียนใหมีคุณภาพและได้มาตรฐานตามบริบทของตนเอง
โดยพัฒนาโรงเรียนในทองถิ่นระดับตำบลให้เป็น “โรงเรียนคุณภาพปนะจำตำบล” ที่มีความเขมแข็งทางวิชาการ
และมีความพรอม ในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัยสามารถใหบริการการศึกษาแกนักเรียนและชุมชน
เพิ่มโอกาสการเขาถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เกิดความเทาเทียมและครอบคลุมทั่วประเทศ
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศ แกปญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม